Tuesday, September 10, 2024
Home > ปัญหาสุขภาพจิตเกิดจากอะไรบ้าง > GAD โรคจิตแห่งความกังวล

GAD โรคจิตแห่งความกังวล

Psycho-GAD

เราเคยเป็นกันไหม เมื่อเราจะต้องเจอกับสถานการณ์อันไม่คุ้นเคย เจอเรื่องยากลำบาก ก็จะทำให้เราเกิดความกังวล วิตกว่าจะแก้ไขไม่ได้ เจอเรื่องร้ายแรง ฯลฯ ความวิตกกังวลเหล่านี้หากอยู่ในระดับพอดีก็ไม่เป็นอะไร เป็นเรื่องปกติที่ใครก็เป็นกันได้ แต่หากเรามีความวิตกกังวลมากเกินไป วิตกกังวลต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเข้ามาในชีวิต นั่นแสดงว่าเรามีปัญหาทางจิต โรคจิตเภทแนะนำของเราวันนี้ ชื่อย่อว่า GAD มาจากชื่อจริงว่า Generalised Anxiety Disorder หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า โรควิตกกังวลทั่วไป โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคจิตวิตกกังลกลุ่มหนึ่ง อาการโดยทั่วไปจะร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรงนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มข้น และต่อเนื่อง ของความวิตกกังวลของผู้ป่วย

Psycho-GAD-pic

อาการของโรค GAD

อาการของโรคจิตชนิดนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ อาการทางจิต กับ อาการทางกาย เริ่มจากอาการทางจิตก่อน ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการคิดซ้ำเรื่องเดิม คิดวิตกกังวลเป็นเวลานานติดต่อกันแบบสลัดไม่หลุด แม้ว่าเหตุการณ์ที่กังวลนั้นจะผ่านไปแล้วก็ตาม พวกเค้ารู้ว่าการคิดแบบนั้นไม่เกิดประโยชน์อะไร แต่ก็ยังไม่สามารถก้าวข้าม ความคิด ความรู้สึกกังวลออกไปได้ ส่วนใหญ่มักจะกังวลต่อเรื่องที่ยังเดินทางมาไม่ถึงมากกว่า อาการทางจิตจะส่งผลต่ออาการทางกายด้วย ร่างกายจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองมามากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น เหงื่อแตก ใจสั่น หายใจไม่ทั่วท้อง บางคนหายใจเร็ว หายใจติดขัดก็มีด้วย ผู้ป่วยจะรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน มวนท้อง เหมือนมีคลื่นลมในท้องทำให้กินอะไรไม่ค่อยลง หน้าตาไม่สดชื่น ดูเศร้าซึม เครียดตลอดเวลา

สาเหตุของอาการ GAD

จากงานวิจัยบอกว่า อาการของโรคชนิดนี้มีสาเหตุมา 2 ประการ หนึ่งคือกรรมพันธุ์หากพ่อแม่มีบุคลิกนิสัยเป็นคนเก็บกด เป็นคนมีพื้นฐานความคิดเป็นลบ เครียด จะทำให้อาการเหล่านี้ส่งผลถึงตัวลูกได้ด้วย สองวิธีการเลี้ยงดู รวมกับสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมรวมกัน ก็จะทำให้เด็กมีอาการ GAD ได้ เช่น พ่อแม่การทำโทษด้วยการตำหนิ ดุด่า ดี หรือการลงโทษด้วยเชิงลบอย่างเดียวจะทำให้เด็กเกิดเป็นความรู้สึกต่อต้านแม่ รู้สึกคิดลบ จนสุดท้ายจะทำให้เกิดความรู้สึกเป็นกังวลต่อสิ่งต่างๆรอบตัวตลอดเวลาแม้ว่าสิ่งนั้นจะยังไม่เกิดขึ้นก็ตาม เนื่องจากกังวลว่าจะผิดพลาด ทำให้โดนตำหนิ โดนทำโทษได้ หากใครเลี้ยงลูกแบบนี้อยู่ต้องลดพฤติกรรมเหล่านั้นลงหากไม่อยากให้ลูกมีอาการ GAD เมื่อโตขึ้น

ด้านการรักษาหมอจะใช้วิธีการรักษสองวิธีควบคู่กัน หนึ่งจะให้ทานยาเฉพาะทางพวกยาต้านความเศร้า ยาคลายกังวลเพื่อลดความตึงเครียดของร่างกาย อีกส่วนหนึ่งจะรักษาด้วยการปรับทัศนคติ ปรับพฤติกรรม ปรับความคิดเชิงลบให้หมดไป