Saturday, November 2, 2024
Home > ปัญหาสุขภาพจิตเกิดจากอะไรบ้าง > โรคจิตประเภท Neurosis โรคจิตใกล้ตัว

โรคจิตประเภท Neurosis โรคจิตใกล้ตัว

Neurosis-type-psychosis

โรคจิตเป็นความผิดปกติทางด้านจิตใจ อารมณ์ของตัวเอง ซึ่งเอาเข้าจริงมีรายละเอียดปลีกย่อย หลากหลายออกไปเยอะมาก ไม่ได้มีแต่อาการเป็นบ้าอย่างเดียวเท่านั้น บางคนอาการที่เราเป็นอยู่ก็นับว่ามีปัญหาทางจิตได้เหมือนกัน วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคจิตประเภท Neurosis โรคจิตนี้ใกล้ตัวกว่าที่เราคิดเยอะ โรคจิตประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่ร้ายแรงเท่าไรนัก แต่ความไม่ร้ายแรงอีกด้านหนึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกประมาทไปได้เหมือนกันคิดว่าตัวเองเป็นเพียงแค่อารมณ์ผิดปกติชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น โรคจิตประเภทนี้ จะมีอีกชื่อหนึ่งว่า โรคประสาท ซึ่งจะมีอาการของโรคแสดงออกมาไม่เหมือนกัน

อาการชนิดวิตกกังวล

อาการแบบแรก เป็นอาการของโรคที่หลายคนน่าจะเป็นนั่นคือ อาการกลุ่มวิตกกังวล อาการจะแสดงออกมาเป็นเครียด ไม่สบายใจ ต่อเหตุการณ์รอบตัวจนทำให้ร่างกายเกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ใจสั่น จนหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่ทั่วท้อง ตอนนอนจะมีอาการสะดุ้งเฮือกเหมือนตัวเองตกจากที่สูง

อาการชนิดฮิสทีเรีย

อาการกลุ่มนี้บอกเลยว่าค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากโรคประสาทกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีความขัดแย้งในจิตใจค่อนข้างมาก บางครั้งทำอย่างนี้แต่พอวันถัดไปกลับบอกว่าไม่ทำอย่างนี้ก็มี กลุ่มนี้จะเป็นคนเจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง รวมถึงปัญหาด้านเพศด้วย จนอาจจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับคนอื่นเพื่อต้องการทางเพศอย่างเดียวก็เป็นได้ อีกหนึ่งความน่ากลัวคือโดนชักจูงได้ง่ายหากมีรางวัลล่อใจอันสมควร

Neurosis-psychosis

อาการชนิดหวาดกลัว

กลุ่มนี้อาจจะมองดูว่าคล้ายกลุ่มวิตกกังวล แต่เอาเข้าจริงไม่เหมือนกันเลย กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวต่อสิ่งของ สภาพแวดล้อม หรืออะไรสักอย่างที่ฝังใจ บางคนอาจจะมีอาการหวาดกลัวแบบไม่ทราบสาเหตุก็มีเหมือนกัน ซึ่งความกลัวอาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนมองว่า ไร้สาระ เช่น กลัวการอยู่คนเดียว กลัววัตถุที่ดูธรรมดา กลัวการทำกิจกรรมบางอย่าง เป็นต้น หากเราเจอไม่ควรฝืนให้เข้าเจอสิ่งนั้น

อาการชนิดย้ำคิดย้ำทำ

อีกหนึ่งอาการโรคประสาทเรามักจะพบได้บ่อย นั่นคืออาการย้ำคิดย้ำทำ เช่นหากจะเดินไปเติมน้ำ ก็จะเดินไปเติมน้ำอยู่นั่นแหละทั้งวันจนกว่าจะเหนื่อยหรือพอใจ หากเป็นเรื่องไม่อันตรายเราก็สามารถปล่อยให้ผู้ป่วยทำได้ เพื่อให้เค้าได้ระบายสิ่งที่อยากทำออกมา แต่หากสิ่งทีย้ำคิดย้ำทำเป็นเรื่องอันตราย เช่น จุดไฟ อาจจะต้องหากิจกรรมอื่นให้ทำแทน

จะเห็นว่าผู้ป่วยโรคประสาทอาจจะมีพฤติกรรมไม่ค่อยร้ายแรงนัก แต่ก็ไม่สามารถปล่อยให้อยู่เองตามลำพังได้ ควรมีคนดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา อีกทั้งหากหมอให้ยามารับประทานควรจัดให้กินอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดอาการดังกล่าว