Tuesday, September 10, 2024
Home > สุขภาพจิตคืออะไรเรามีคำตอบ > รู้ทันรักษา โรคไบโพลาร์

รู้ทันรักษา โรคไบโพลาร์

Bipolardisease-pic

ไบโพร่า จัดเป็นภาวะความป่วยชนิดเดียวกับโรคซึมเศร้า เกิดจากความผิดปกติทางสมองที่ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ รวมถึงความตื่นตัว และความสามารถในแต่ละวัน โบโพร่ามี 4 ชนิดหลัก ๆ โดยส่งผลโดยตรงกับความรู้สึก อารมณ์และการควบคุมตัวเอง อาจจะมีอาการร่าเริงผิดปกติ จนถึงอาการเศร้าขั้นรุ่นแรงได้แก่

ไบโพลาร์ประเภท 1

จะมีอาการอย่างน้อยประมาณ 7 วัน ซึ่งอยู่ในภาวะตื่นตัวตลอดเวลา บางรายอาจถึงขั้นรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในทันที นอกจากนั้นก็มีอาการซึมเศร้าแทรกเข้ามาด้วย โดยปกติถ้ามีจะแสดงอาการอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ อาจมีการแสดงอาการพร้อมกันระหว่างภาวะตื่นตัว และซึมเศร้า ในเวลาเดียวกัน

ไบโพลาร์ประเภท 2

คือผู้ที่มีอาการซึมเศร้าโดยเฉพาะสลับกับอาการฟุ้งพล่าน โดยจะไม่มีการแสดงอาการในส่วนของการตื่นตัว ถือเป็นขั้นที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพราะอาจเกิดอาการร้ายแรงจนถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาล

ไบโพลาร์ชนิดอ่อน

เป็นการแสดงอาการซึมเศร้า และอาการฟุ้งพล่านชนิดอ่อน แบบมาเป็นช่วง ๆ เป็นระยะเวลากว่า 1 – 2 ปี โดยเด็กและวัยรุ่นจะมีอาการอยู่ประมาณ 1 ปี โดยไม่สามารถวินิจฉัยได้แบบเดียวกันกับไบโพลาร์ทั้งสองประเภท เพราะจะมีการแสดงอาการที่ไม่เหมือนกัน

Bipolar-disease

ไบโพลาร์ชนิดพิเศษ

          เป็นอาการที่อยู่นอกเหนือจากทั้ง 3 ประเภทด้านบน จัดเป็นภาวะป่วยที่ต้องรักษาไปตามอาการ ซึ่งมีพบน้อยมากในเคสแบบนี้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เจอ ในบางรายอาจร้ายแรงมากกว่าทุกประเภท หรือไม่มีผลต่อชีวิตประจำวัน

อาการของผู้ที่อยู่ในช่วงตื่นตัว

1.มีอาการตื่นตัว ตื่นเต้น ร่าเริงผิดปกติ

2.มีพลังกายเหลือล้น

3.ชอบทำกิจกรรม อยู่ไม่นิ่ง

4.พูดเร็ว พูดไปเรื่อยเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มากมาย

5.ขี้งอน กระวนกระวายใจง่าย

6.คิดว่าสามารถทำอะไรต่าง ๆ ได้พร้อมกัน

7.ชอบทำอะไรเสี่ยง ๆ ใช้จ่ายเงินไม่คิด

อาการของผู้ที่อยู่ในช่วงซึมเศร้า

1.รู้สึกเศร้าอยู่ตลอดเวลา

2.รู้สึกไม่มีแรงจะทำอะไร

3.มีการทำกิจกรรมน้อยลง

4.มีปัญหาในการนอนหลับ นอนมาก หรือน้อยเกินไป

5.ไม่มีส่วนร่วมในความสนุก

6.รู้สึกกังวนง่าย

7.ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำอะไร

8.ขี้ลืม นึกอะไรได้แปป ๆ ก็ลืมแล้ว

9.เหนื่อยง่าย และทำอะไรช้า

10.มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

ในการรักษาเบื้องต้นควรมีและปรึกษากับหมอประจำครอบครัว เพื่อช่วยในการจัดวิธีการบำบัดเบื้องต้น ให้กับผู้ป่วย และแนะนำวิธีดูแลต่าง ๆ โดยเราไม่จำเป็นต้องไปหาหมอ หรือไปพึ่งความเชื่อแบบผิด ๆ ส่วนถ้าเราไม่มี และไม่สามารถหาได้ ก็สามารถไปปรึกษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป