Saturday, November 2, 2024
Home > ปัญหาสุขภาพจิตเกิดจากอะไรบ้าง > ทำความรู้จักโรคประสาทแบบ Depersonalization

ทำความรู้จักโรคประสาทแบบ Depersonalization

Depersonalization

โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตหรือที่เรียกว่าโรคประสาทมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “โรคประสาทแบบ Depersonalization” ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเอกลักษณ์ตัวตนมีการเปลี่ยนแปลง ตามหลักทางจิตวิทยาระบุว่า บุคคลที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะมีบุคลิกภาพอาการคล้ายแบบฮีสทีเรีย

สาเหตุของการเกิดโรคนี้มาจาก ความอ่อนเพลีย, การฟื้นจากการถูกสะกดจิต, การได้รับยาบ้างชนิด, การเจ็บปวด, ความเศร้า หรือแรงกดดันอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น เป็นต้น

ความผิดปกติของโรคประสาทชนิดนี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น จะพบน้อยมากกับบุคคลที่อายุมากกว่า 40 ปี อาการของโรคประสาทแบบ Depersonalization จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ รวมทั้งประสบการณ์ของตัวเอง ส่งผลต่อความรู้สึกว่าความจริงที่เกี่ยวกับตนสูญหายหรือมีการเปลี่ยนแปลงไปชั่วขณะ โดยจะคิดว่ามีส่วนต่างๆของร่างกายหรือรูปร่างไม่เหมือนเดิม รู้สึกเหมือนว่าตนเองอยู่ห่างไกล ทำตัวเป็นเครื่องจักร หรืออยู่ในความฝันและอาจจะควบคุมการกระทำของตนไม่ได้

สำหรับอาการอย่างอื่นที่อาจร่วมด้วยบ่อยๆ คือ อาการวิงเวียน ซึมเศร้า คิดวิตกกังวลซ้ำไป ซ้ำมา กลัวว่าตัวเองจะเป็นบ้า และรู้สึกเรื่องของเวลาไม่เหมือนเดิม มักจะนึกเรื่องต่างๆไม่ค่อยออก และเมื่อเริ่มต้นเป็นโรคนี้แล้วจะหายช้าเรื้อรัง อาการจะเกิดขึ้นซ้ำแล้ว ซ้ำอีก โดยจะเกิดขึ้นหลังมีความวิตกกังวลหรือซึมเศร้า

Depersonalization-

“โรคดึงผมตัวเอง”

“โรคดึงผมตัวเอง หรือ Trichotillomania” เป็นโรคชนิหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติเรื่องของการควบคุมตัวเอง ซึ่งมักจะแสดงออกโดยดึงเส้นผมไม่จำกัดว่าเป็นขนของส่วนไหนในร่างกาย อาทิเช่น ศีรษะ ใบหน้า แขน ขา ขนคิ้ว ขนตา และขนที่อวัยวะเพศ โรคนี้มักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ที่มีอาการนี้ส่วนมากจะเริ่มดึงผมตัวเองขณะที่กำลังทำกิจกรรมเพลินๆ เช่น อ่าน-เขียนหนังสือ คุยโทรศัพท์ หรือดูโทรทัศน์ เป็นต้น

สาเหตุของโรคนี้ ยังไม่แน่ชัดแต่มีความเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะความผิดปกติทางระบบทางพันธุกรรมหรือสภาพแวดล้อม ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้คิดว่าการดึงผมตัวเองคือวิธีระบายความเครียดอย่างหนึ่ง

อาการที่แสดงออก อาจเริ่มได้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี จนถึงผู้ใหญ่

  • เอามือจับผมบ่อยๆ
  • มีความสุข ตื่นเต้น หรือสบายใจมากขึ้นเมื่อได้ดึงผม
  • ดึงผมบ่อยจนสังเกตได้ว่าผมร่วง

การรักษาอาการของโรค หากเป็นปัญหาระยะสั้นที่สามารถหายเองได้ก็ไม่จำเป็นที่ต้องรักษา หรือจะใช้ยาเพื่อลดอาการตึงเครียดวิตกกังวล ซึมเศร้า หรืออาจจะต้องใช้การบำบัดร่วมกับครอบครัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน